1. การบริหารจำนวนที่นั่งร้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการจำนวนที่นั่งร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากส่งผลต่อผลกำไรการขายการบริการลูกค้าและประสบการณ์การรับประทานอาหาร หากช่วงเวลาไหนมีคนมารอหน้าร้านมากๆเกินกว่าที่นั่งในร้านจะรับได้ ไม่มีที่นั่งเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการซึ่งหมายความว่า ทำให้ลูกค้าหันเหไปที่อื่นก็เป็นได้
จำนวนลูกค้าล้นนำไปสู่ :
- พนักงานบริการได้ไม่ดี
- บรรยากาศที่ตึงเครียดของพนักงาน
- ลูกค้าไม่มีความสุขเพราะพนักงานมีแนวโน้มที่จะทำผิดพลาดมากกว่าปกติ
- ลดรายได้และผลกำไร
หากร้านอาหารที่ว่างมากมาย อาจจะเพราะใหญ่เกินไป :
- ความไม่แน่นอนของคุณภาพการบริการจากพนักงานจะไม่ต่อเนื่องและติดเชื้อกันไป
- ความเบื่อในหมู่พนักงานเพราะว่างจนไม่มีอะไรทำ
- บรรยากาศที่เหงียบเหงาเกินไปภายในร้านจนลูกค้ามองว่าไม่น่าเข้า
- ยอดขายไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
ถ้ามีลูกค้ามานั่งประมาณ 80-90% ของจำนวนที่นั่งที่มี การบริการและครัวพนักงานมีจำนวนงานที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของการบริการโดยไม่รู้สึกล้นมือ ผลลัพธ์คือ ร้านอาหารสามารถจะเพิ่มรายได้และผลกำไรให้สูงสุด
แต่ร้านอาหารจะจัดการความจุอย่างเหมาะสมยังไงในช่วงที่มีลูกค้ามากๆ จะเพิ่มยอดขายได้อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อร้านอาหารมีพื้นที่จำกัด
คำตอบคือ : ทำให้ร้านอาหารมีความยืดหยุ่นในเรื่องของ Floor Plan (รูปแบบการจัดวางโต๊ะ ในรูปแบบต่างๆ) ไงหล่ะ
แล้วทำยังไงหล่ะ?
1. มีการผสมผสานประเภทโต๊ะเพื่อรองรับจำนวนลูกค้ากลุ่มที่แตกต่างกัน การมีโต๊ะ 2 และ 4 ที่นั่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมเพราะกลุ่ม 2 และ 4 คนเป็นเรื่องธรรมดาที่ร้านอาหารจะเจอบ่อยๆ ร้านอาหารต้องการหลีกเลี่ยงสถาณการณ์ที่คู่รักเข้ามาในร้านอาหารและนั่งในโต๊ะสำหรับ 4 ที่นั่ง จากการที่ไม่มีที่นั่ง 2 ที่นั่งที่ลูกค้าเช็คบิล ทำให้เสียโอกาสการขายไป 2 ที่นั่ง
2. จัดทำตางรางข้อมูลลูกค้าจาก POS ว่ามีลูกค้ามาโต๊ะละกี่คนเป็นสัดส่วนอย่างละเท่าไหร่ ดังนั้นเวลาเปิดโต๊ะใส่จำนวนลูกค้าให้ถูกต้องก็จะดีมากๆ จะได้เอามาใช้ประโยชน์ในอนาคต
จุดสำคัญตรงนี้ คือ ถ้าร้านอาหารใช้โต๊ะที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามสถาณการณ์ได้ โอกาสก็จะน้อย แต่ถ้าใช้โต๊ะสำหรับ 2 ที่ แต่สามารถนำมายืดหยุ่นต่อกันให้ได้ 4 6 8 ที่นั่ง ไม่ว่ามุมไหน องศาไหนของสถานที่ อันนี้ก็จะปรับได้ง่ายกว่ามาก
2. ร้านอาหารต้องหมุนโต๊ะได้อย่างรวดเร็ว
การหมุนโต๊ะ คืออะไร ง่ายๆคือ การรับลูกค้าใหม่จากโต๊ะเดียวกันได้บ่อยๆ ยิ่งบ่อย ยิ่งมีโอกาสทำรายได้เพิ่ม
อาจจะมีข้อสงสัยว่า เป็นการพยายามไล่ลูกค้าหรือเปล่า คงตอบว่า ไม่ใช่ แต่เป็นการบริหารจัดการส่งมอบในสิ่งที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านนั้นๆ ได้สิ่งที่ต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมากกว่า มันคืออะไรลองติดตามด้านล่างกันต่อไป
มูลค่าการสั่งซื้อเฉลี่ยแตกต่างกันไปในหมู่ลูกค้า แต่โดยทั่วไปคุณสามารถคาดหวังว่าจะสร้างรายได้มากขึ้นถ้าคุณเปิดตารางเพิ่มเติม ดังนั้นเป้าหมายของคุณควรจะรักษาอัตราการหมุนเวียนของตารางที่เหมาะสม
เราบอกว่าเหมาะสมเพราะเซิร์ฟเวอร์ของคุณไม่ควรเร่งบริการในขณะที่ลดคุณภาพของการบริการลูกค้า เซิร์ฟเวอร์ควรรักษาคุณภาพการให้บริการสูงในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพอยู่
การบำรุงรักษาบริการที่มีคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานประกอบการอาหารรสเลิศ ลูกค้าจ่ายเงินเล็กน้อยสำหรับอาหารที่มีคุณภาพซึ่งต้องใช้เวลาในการเตรียมและคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว
อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าร้านอาหารที่ทำอยู่ กำลังขายอะไรนอกเหนือจากรสชาติอาหารที่ดี เพราะถ้าจะกินเพียงแค่อิ่ม มันมีทางเลือกมากมายให้ลูกค้าได้ซื้อ ต้องหาจุดนี้ให้เจอ
วิธีการเพิ่มอัตราการหมุนโต๊ะให้ดีขึ้น
นี่คือหลายวิธีในการเพิ่มการหมุนเวียนโต๊ะของคุณโดยไม่ลดทอนคุณภาพการบริการ:
- เลือกที่นั่งให้เหมาะสมกับตลาด ที่นั่งที่ทำให้รู้สึกสบายมากๆจนแทบอยากจะงีบในร้านกาแฟบางร้าน ก็อาจจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า อยากอยู่นานๆ นั่งแล้วสบายเหลือเกิน แต่พอลองหันไปมองร้านอาหาร Fast Food ดูสิ ที่นั่งก็จะเป็นประเภทแข็งๆไม่โอ่อ่าอะไรมากมาย กินเสร็จก็กลับ
- ใช้เพลงแสงและสีเป็นตัวกระตุ้นอารมณ์ ยิ่งเพลงยิ่งชิว ยิ่งเพลิน ยิ่งอยากอยู่นานเพราะมันรู้สึกสบาย แต่พอลองเป็นเพลงที่คึกคักดูสิ มันรู้สึกสนุกนะ แต่นานๆไปก็รู้สึกเหนื่อย เพราะอิ่มเอมไว สีที่จัดจ้านก็จะทำให้ตื่นเร่งรีบให้กินรีบกลับ
- "ได้รับอาหารครบแล้วหรือไม่ จะรับของหวานอะไรดี" เป็นตัวที่สามารถเช็คว่าร้านได้ขาดตกบกพร่องอะไรหรือเปล่า แถมเป็นการ Upsell ไปในตัว ให้ลูกค้ารู้ว่าถึงเวลาขั้นตอนสุดท้ายแล้วนะ ถึงเวลาต้องเตรียมเช็คบิลแล้ว
- พนักงานครัวยิ่งมีทักษะสูง ยิ่งทำอาหารได้ถูกต้อง รวดเร็ว ออร์เดอร์ไม่ผิดพลาด ลูกค้าได้กินเร็ว ก็กลับเร็ว
- พนักงานบริการดี ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้แม่นยำ รวดเร็ว รู้จัก Timing ว่าอะไรควรทำก่อนหลัง โดยเฉพาะคนที่นำลูกค้าไปนั่งโต๊ะต่างๆ ต้องเข้าใจร้านอาหารว่ามีลูกค้ากลุ่มจำนวนกี่คน จำนวนเท่าไหร่บ้าง จะได้ไม่สูญเสียโอกาส เช่นเอาโต๊ะ 4 คนไปให้ กลุ่มที่มา 2 คน ดังนั้นหมั่นฝึกฝนพนักงานให้ทำงานให้คล่อง
3. ร้านอาหารขายอย่างชาญฉลาดใช้ Data มาทำ Menu Engineering
ร้านอาหารสามารถใช้ข้อมูลการขาย POS เพื่อช่วยจำแนกประเภทอาหารทั้งหมดตามประเภทของอาหารเหล่านี้ การจำแนกประเภทนี้จะช่วยให้ตัดสินชะตากรรมของอาหารบางประเภท วิธีวางรายการบนเมนู และวิธีการโปรโมตในรูปแบบที่แตกต่างกัน
แบ่งหมวดหมู่อาหารแต่ละจานให้ขัดเจน และวิเคราะห์ว่าจานไหนเป็น
- Stars
- Plowhorses
- Puzzles
- Dogs
พอรู้แล้วว่าจานไหนอยู่หมวดไหน สามารถเอาไปพัฒนาต่อไปอีกมาก รวมถึงการออกแบบหน้าตาเมนูที่ใช้หลักจิตวิทยาสะกดให้ลูกค้าสั่งอาหารจานที่เราอยากขายได้ง่ายๆ เอาไว้จะหาช่องทางอธิบายเพิ่มเติม เพราะมันน่าจะยาว ^^
ขอส่งท้ายว่า:
ถ้าร้านอาหารมี Data ที่ดี ดีในที่นี้คือถูกจัดเก็บสิ่งที่ควรเก็บ เก็บของดีไม่ใช่ขยะ เพราะหลายคนก็ไม่รู้จะเก็บอะไรบ้าง พอจะเอามาใช้ประโยชน์ ก็อาจจะต้องล้มกระดานเก็บใหม่ ซึ่งเสียเวลาและไม่ทันกาล เพราะวันดีคืนดีเราอาจจะจำเป็น อย่างช่วงโควิดก็เป็นได้ เริ่มต้นด้วยการรู้ RevPASH ก่อนเลย
ดังนั้น เรียนรู้การเก็บ Data เอาไว้ตอนนี้ มันจะช่วยทำให้ร้านอาหารกำไรขึ้นได้อีกมาก จากข้อมูลดีๆที่ได้เก็บไว้แล้ว
Ref:
https://www.7shifts.com/blog/restaurant-revenue-management/
https://revenue-hub.com/revpash-restaurant-revenue-management/
Page [tcb_pagination_current_page] of [tcb_pagination_total_pages]